วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

database

ตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
1:1 = รถจักรยานยนต์ 1 คัน สามารถมีสมุดจดทะเบียนได้ 1 เล่ม
1:M = โรงเรียน 1 โรงเรียน สามารถมีนักเรียนนได้มากกว่า 1 คน
M:M = การลงทะเบียนเรียนแต่ละครั้งสามารถลงทะเบียนได้หลายรายวิชา
ตัวอย่างระบบจัดการฐานข้อมูล : Microsoft Access, FoxPro, SQL Server, Oracle
ลำดับโครงสร้างข้อมูล
0 , 1 = Bit= เลขฐาน2 ประกอบไปด้วยเลข 1 และ 2
ก = Byte = การนำเลขฐาน 2 มารวมกัน ซึ่ง1ไบต์เท่ากับ8บิต
กัลยา = Field
กัลยา นันทา = record
กัลยา นันทา, จุมพล รักเรียน และ สิรินทร์ ขาวดี= File
ไฟล์นักศึกษา, ไฟล์รายวิชา และ ไฟล์อาจารย์สอน = Database

Software

1. Operating System
-Windows
-Mac OS
-Linux
-DOS
-UNIX
2. Translator Language
-ThaiSoftware Dictionary
-LEXiTRON Dictionary
3. Utility Program Norton
-Winzip
-Cleanup
-Winrar
-Internet Explorer
-Opera
-FireFox
-MacAfee
-AVG Ati Virus
-Avira Ati Virus
-NOD32
-Bitdefender
-Adobe reader
-Safari



4. โปรแกรมเฉพาะด้านทางธุรกิจ


4.1 ประมวลผลคำ
- MS-Word
4.2 ตารางทำการ
-MS-Excel
4.3 ระบบจัดการฐานข้อมุล
-Access
-MySQL
-Oracle
-MS-SQL Server
4.4 ซอฟต์แวร์ด้านมัลติมีเดีย และเว็บ
-Smart Nero
-Power DVD
-Windows Media Player
4.5 ซอฟต์แวร์ด้านการติดต่อสื่อสาร
4.6 ซอฟต์แวร์ด้านสื่อสิ่งพิมพ์
-MS-PowerPoint
4.7 ซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจ
-Inventory Control
-Accounting System

ระบบเครือขาย และการติดต่อสื่อสาร

ระบบเครือขาย และการติดต่อสื่อสาร
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การสื่อสารข้อมูล เป็นการส่งข้อมูลข่าวสารจากต้นทางไปยังปลายทางโดยผ่านช่องทางการสื่อสารทั้งสื่อแบบที่ต้องใช้สายและไม่ใช้สายนอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับชนิดของสัญญาณ ประเภทของการส่งสัญญาณข้อมูล วิธีการสื่อสารข้อมูล ทิศทางการสื่อสารข้อมูล อุปกรณ์แปลงสัญญาณ วิธีการแปลงสัญญาณ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป เพื่อติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยทั่วไปจะประกอบด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ ช่องทางการสื่อสารข้อมูล  และอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อ นอกจากนั้นยังมีแบบจำลองไอเอสโอ ซึ่งเป็นระบบเปิดเพื่อเป็นแนวทางมาตรฐาน เพื่อให้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่างระบบกันทำงานร่วมกันได้
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล
ก่อนที่จะมีการใช้คอมพิวเตอร์ การติดต่อสื่อสารเพื่อส่งข้อมูลและข่าวสารจะผ่านทางสื่อต่างๆ เช่น ไปรษณีย์ โทรศัพท์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสาร เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อหลักในการติดต่อสื่อสารเป็นเวลานาน
ยุคแรกการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน การทำงานทุกอย่างจะเป็นแบบรวมศูนย์ นั่นคือจะมีคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องหลักทำงานที่ศูนย์กลาง งานต่างๆจะต้องส่งมาประมวลผลที่ศูนย์กลาง
ยุคต่อมา พัฒนาเป็นระบบการประมวลผลทางไกล ซึ่งจะประกอบด้วยเทอร์มินัลที่จะเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์กลาง ระบบนี้ถึงแม้ว่าจะมีการกระจายการใช้งานของผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกล แต่ระบบการทำงานก็ยังรวมศูนย์อยู่ที่คอมพิวเตอร์กลางขององค์การอยู่นั่นเอง
เมื่อมีการนำไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ทำให้เกิดการทำงานแบบกระจายศูนย์อย่างชัดเจนและแพร่หลายมากขึ้น ในขณะเดียวกันหากมีงานที่ซับซ้อนและไม่สามารถทำงานได้โดยไมโครคอมพิวเตอร์ก็สามารถที่จะประมวลผลภายใต้คอมพิวเตอร์ที่ศูนย์กลางได้ ซึ่งจะเห็นว่าการทำงานดังกล่าวเป็นรูปแบบการประมวลผลแบบกระจาย
ในช่วงแรก จะทำงานเป็นเอกเทศโดยเป็นรูปแบบการทำงานแบบกระจายศูนย์ นั่นคือ ไม่มีการเชื่อมโยงถึงกัน จนกระทั่งเกิดระบบแลน การทำงานใดๆจะทำโดยเจ้าของงานซึ่งเป็นต้นทางของข้อมูลเพื่อการประมวลผล แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถเชื่อมโยงกับผู้ใช้ในจุดต่างๆที่อยู่ห่างไกลกันได้ ทำให้การสื่อสารข้อมูลในสำนักงานมีความสะดวกและเป็นเครื่องมือสำคัญของการสื่อสารข้อมูลในสำนักงานปัจจุบันนี้
ความหมายของการสื่อสารโทรคมนาคมและการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication) หมายถึง การส่งผ่านสัญญาณ หรือพลังงาน ซึ่งอาจจะเป็นข่าวสารหรือข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ระหว่างผู้ส่งและผู้รับที่อยู่ห่างไกลกัน ในการส่งผ่านสัญญาณจะอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล ซึ่งจะเป็นแบบใช้สายโดยใช้ลวดตัวนำฉนวน หรือแบบไม่ใช้สายโดยส่งสัญญาณผ่านชั้นบรรยากาศ เช่น การสื่อสารโดยการใช้โทรศัพท์ (tele+phone = การพูดระยะไกลการแพร่ภาพโทรทัศน์ (tele + vision  = การดูระยะไกลโทรเลข (tele + graph = การเขียนทางไกลเป็นต้น
การสื่อสารข้อมูล (Data communication) หมายถึง การส่งข้อมูลหรือข่าวสาร จากผู้ส่งต้นทางไปยังผู้รับปลายทางที่อยู่ห่างไกล โดยผ่านช่องทางการสื่อสารเพื่อเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นแบบใช้สาย หรือไม่ใช้สายก็ได้ ส่วนข้อมูลหรือข่าวสารนั้นอาจจะเป็นข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือข้อมูลที่เป็นมัลติมีเดียก็ได้ ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลจึงเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารโทรคมนาคม โดยเน้นการส่งผ่านข้อมูล โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเป็นหลัก
ตัวอย่างการสื่อสารข้อมูล


ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการเลือกตัวกลาง
 อัตราเร็วในการส่งผ่านข้อมูล (Transmission Rate)
 ระยะทาง ระหว่างอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อ
 ค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ค่าใช้จ่ายประจำ และค่าบำรุงรักษา
 ความสะดวกในการติดตั้ง บางพื้นที่อาจเหมาะกับการเดินสาย หรือบางพื้นที่อาจจะเหมาะกับสื่อแบบไร้สาย
 ความทนทานต่อสภาพแวดล้อม
 วิธีที่ใช้ในการสื่อสาร เช่นการสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม หรือแบบขนาน ทิศทางที่ใช้ส่งข้อมูลเป็นแบบทางเดียว กึ่งสองทาง หรือแบบสองทาง เป็นต้น
ชนิดของสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล
 สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal)
          สัญญาณอนาล็อก คือ สัญญาณที่อยู่ในรูปแบบของคลื่น (Waveform) ที่มีความต่อเนื่องกัน (Continuous) มีการเปลี่ยนแปลงระดับของสัญญาณขึ้น – ลงตามขนาดของสัญญาณ (Amplitude) และมีความถี่ (Frequency) ที่เรียกว่าHertz (Hz) ตัวอย่างของสัญญาณอนาล็อก เช่น เสียงพูด (Voice) กระแสไฟฟ้าสลับ เป็นต้น
 สัญญาณดิจิตอล (digital Signal)
            สัญญาณดิจิตอล หรือเรียกว่า “สัญญาณพัลซ์ (Pulse Signal)” สัญญาณที่มีระบบของสัญญาณเพียง 2 ระดับ คือ สูงและต่ำ การเปลี่ยนระดับสัญญาณจะไม่มีความต่อเนื่องกัน (Discrete) โดยปกติแล้วระดับสูงจะแทนด้วยตัวเลข 1 และระดับต่ำจะแทนด้วย 0
           
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 ระบบเครือข่าย (Network) คือ กลุ่มของเทคโนโลยี (ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ตัวกลาง และอื่นๆ) ที่สามารถเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถติดต่อสื่อสารกัน และเปลี่ยนสารสนเทศระหว่างกัน และใช้แหล่งข้อมูลร่วมกันแบบเรียลไทม์ (real time)
 ในปัจจุบันองค์กรบางองค์กรใช้ระบบรวมศูนย์กลาง คือ ใช้เครื่องเมนเฟรมและเครื่องเทอร์มินัล แต่ในขณะเดียวกันระบบธุรกิจและโรงเรียนจำนวนมากได้เปลี่ยนจากระบบรวมศูนย์กลางเป็นระบบเครือข่ายแบบใช้เครื่องพีซี เพราะมีความยืดหยุ่นมากกว่าการใช้เครื่องเมนเฟรมร่วมกับเครื่องเทอร์มินัล
ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 เครือข่ายแลนเป็นเครือข่ายสำคัญที่ปรับเปลี่ยนการทำงานภายในสำนักงานให้เป็นระบบสำนักงานอัตโนมัติ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลมาช่วยอำนวยความสะดวก ในการทำงานในสำนักงานด้านต่างๆ ได้แก่
            - การติดต่อสื่อสารภายในสำนักงาน เช่น การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างพนักงาน การนัดหมาย เป็นต้น
            - การใช้ทรัพยากรต่างๆ ร่วมกัน เช่น การใช้แฟ้มข้อมูล หรือ ฐานข้อมูลกลางระหว่างหน่วยงาน การใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน เป็นต้น
  - การทำงานร่วมกัน เช่น การทำงานกลุ่ม เพื่อส่งเอกสารระหว่างสมาชิกในกลุ่ม การประชุมทางไกล เป็นต้น
 ชนิดของเครือข่ายแลน (แบ่งตามการจัดการทรัพยากรของเครือข่ายคอมพิวเตอร์)
-  แบบลูกข่าย/แม่ข่าย (Client/Server)
          มีแม่ข่าย (Server) ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ที่มักจะใช้ควบคุมการทำงานในเครือข่ายเป็นผู้ให้บริการแก่คอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Client) ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายแลน
 - แบบแม่ข่ายกำหนดหน้าที่เฉพาะ (Delicate Server)
 - แบบแม่ข่ายไม่กำหนดหน้าที่เฉพาะ (Non delicate server)
 แบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer)
คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายมีสถานะเท่าเทียมกันหมด คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถเป็นผู้ให้บริการและผู้รับบริการในขณะใดขณะหนึ่ง
 เครือข่ายระยะไกลหรือเครือข่ายแวน
            แวน คือ ระบบเครือข่ายแลนสองระบบเครือข่ายหรือมากกว่าเชื่อมต่อกัน โดยส่วนมากจะครอบคลุมพื้นที่กว้าง ตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่งมีสำนักงานขนาดใหญ่ และฝ่ายการผลิตตั้งอยู่ที่เมืองหนึ่ง ฝ่ายการตลาดตั้งอยู่อีกเมืองหนึ่ง แต่ละแผนกต้องมีการใช้ทรัพยากร ข้อมูล และโปรแกรม นอกจากนี้แต่ละแผนกต้องการใช้ข้อมูลร่วมกับแผนกอื่นด้วย จึงต้องมีการระบบแวน
                                                                   โปรโตคอล (Protocol)


โปรโตคอล คือ ระเบียบวิธีการ กฎ และข้อกำหนดต่าง ๆ ใน
 การติดต่อสื่อสารรวมถึงมาตรฐานที่ใช้เพื่อให้สามารถส่งผ่านข้อมูล
 ไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง
 TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
            โปรโตคอลมาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันใช้ระบบปฏิบัติการที่ต่างกันและอยู่บนเครือข่ายที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันผ่านทางเครือข่ายได้โดย TCP/IP จะประกอบไปด้วยโปรโคตอล 2 ตัว TCP (Transmission Control Protocol) และ IP (Internet Protocol)
SMTP (Simple Mail Transport Protocol)
โปรโตคอลที่ใช้ในการส่ง E-mail ไปยัง Mailbox ที่จุดหมายปลายทาง
POP3 (Post Office Protocol – 3)
โปรโตคอลที่ใช้ในการดึง E-mail จาก Maibox ของผู้ให้บริการมาเก็บไว้ที่เครื่องตนเองเพื่อให้สะดวกต่อการจัดการับ E-Mail
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในธุรกิจ
ตัวอย่างบริการบนอินเตอร์เน็ต (Internet)
 E-mail
 Telnet
  Gopher, Archie
  Instant Messaging, Chat Room
  Internet Telephony
  Newsgroup
  USENET

Internet เบื้องต้น

ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
 พ.ศ. 2512   กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ได้ก่อตั้ง  ระบบเครือข่ายARPANET ( Advance Research Project Agency Network)   สำหรับการสื่อสารของทหาร และได้เชื่อมต่อกับ มหาวิทยาลัย 4 แห่ง
 พ.ศ. 2528  มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (The National Science Foundation ) ของสหรัฐ ได้วางระบบเครือข่ายขึ้นมาอีกระบบหนึ่ง เรียกว่า NSFNet ซึ่งประกอบด้วยซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 5 เครื่องใน 5 รัฐ เชื่อมต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และมีการใช้มาตรฐาน TCP/IPเป็นมาตรฐานหลักในการรับส่งข้อมูล
 พ.ศ. 2530 เครือข่าย ARPANET ได้รวมกับ NSFNET และลดบทบาทตัวเองลงมา เปลี่ยนไปใช้บทบาทของ NSFNet แทน และเลิกระบบ ARPANET ในปีพ.ศ. 2534
 พ.ศ. 2534  World Wide Web (WWW) ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยสถาบันวิจัยยุโรป มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศ
 4 – 5 ปี ต่อมา มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตถึง 30 ล้านคน  บริษัทต่าง ๆ เห็นโอกาสทางธุรกิจจึงได้สร้างเว็บไซต์ของตนขึ้นเพื่อเสนอข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทของตน และ มีบริการจากอินเทอร์เน็ตมากมาย ที่ได้รับความนิยม
ในปัจจุบัน
ประวัติ Internet ในประเทศไทย
 พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ คิมูระ  ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียว และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น
 พ.ศ. 2530 มีการเชื่อมต่อจากมหาวิทยาลัย ในประเทศไทยไปยังมหาวิทยาลัยในประเทศออสเตรเลีย โดยใช้สายโทรศัพท์
 พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)  ได้เชื่อมต่อเครือข่ายไทยสารเข้ากับมหาวิทยาลัยและองค์กรในประเทศ 6 แห่ง
พ.ศ. 2538 กำเนิด บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของไทย
สถิติผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
Internet
    
อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว Inter Connection Network
  อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน ได้โดยใช้มาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
อินเทอร์เน็ตทำงานอย่างไร


เป็นการเชื่อมต่อในรูปแบบที่เรียกว่า Client-Server
Client คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นฝ่ายขอรับบริการ  เช่นขอเรียกดู Web Page  ขอแฟ้มข้อมูล ต่าง ๆ
 Server คือเครื่องผู้ให้บริการตามที่ client ร้องขอมา เช่น Web Server เป็นเครื่องที่ให้บริการ Web    ,   Mail server สำหรับให้บริการ  E - mail
World Wide Web
World Wide Web : WWW  เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต  โดยประกอบด้วยเอกสารที่รวบรวมข้อมูลข่าวสารไว้จำนวนมากที่เก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั่วโลก 
โดยข้อมูลบน WWW อาจอยู่ในรูปแบบของ ข้อความ  ภาพ เสียง หรือ มัลติมีเดีย
เรียกสั้น ๆ ว่า web
 ใช้มาตรฐานการสื่อสาร เอชทีทีพี (HTTP protocol )
 โดยจะแสดงผลผ่าน Web browser
Web page คือ เอกสารบนเว็บที่สามารถแสดงข้อมูลหรือสารสนเทศที่เป็นข้อความ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว โดยเก็บอยู่ในรูปของ ไฟล์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถเข้าชม Web page แต่ละหน้า โดยใช้ Web Browser เรียก URL (Uniform Resource Locator) ของหน้าเว็บนั้น
เช่น URL
            HTTP://WWW.npru.ac.th/science/index.html
URL (Uniform Resource Locator)
URL เป็นการระบุตำแหน่งของแฟ้มข้อมูลใน Internet
ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก มีรูปแบบการเขียนดังนี้ 
                                  Service://node/path
Service หมายถึง ชนิดหรือวิธีการที่จะใช้ในการนำแฟ้มนั้นมา
Node เป็นชื่อของเครื่อง (domain name) ซึ่งมีแฟ้มข้อมูลที่ต้องการเก็บอยู่
Path เป็นส่วนของชื่อและตำแหน่งของแฟ้มในเครื่องนั้น
HTTP://WWW.npru.ac.th/science/index.html
มาตรฐานการสื่อสาร TCP/IP
TCP/IP : Transmission Control Protocol / Internet Protocol  เป็นมาตรฐานในการสื่อสาร ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้ และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ แบ่งได้ 2 ส่วนคือ  TCP  และ  IP
TCP เป็นการเชื่อมต่อในระดับโปรแกรมประยุกต์ โดยการส่งการร้องขอการเชื่อมต่อ และเป็นการเชื่อมต่อแบบสองทาง (full-duplex communication)
IP เป็นการสื่อสารโดยไม่มีการเชื่อมต่อค้างไว้ โดยเป็นการส่งข้อความที่อยู่ในลักษณะของ Packet ไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ที่เป็นจุดหมายปลายทาง
การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต
World Wide Web(WWW)
◦      บริการเข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน
Electronic Mail(E-Mail)
◦      บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ สามารถส่ง ข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ไปพร้อมกับจดหมายได้
Chat
◦      บริการสนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้งานสามารถพูดคุยโต้ตอบกันได้โดยทันที
File Transfer Protocol (FTP)
◦      บริการขนถ่ายแฟ้มข้อมูล ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เชื่อมต่อกันทั่วโลกผ่าน สายสัญญาณโทรศัพท์ ใยแก้วนำแสง (fiber optic) สัญญาณดาวเทียม สัญญาณไมโครเวฟ
ISP ( Internet Service Provider) คือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเชื่อมโยงกัน โดยมีทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ เช่นLoxinfo , A-Net , Uninet , True
ลักษณะการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่อแบบบุคคล
ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้าน  หรือที่ทำงาน เชื่อมต่อผ่านสารโทรศัพท์ หรือ แบบไร้สาย โดยใช้ Modem โดยเชื่อมต่อกับISP ซึ่งจ่ายค่าบริการเป็นชั่วโมง หรือ รายเดือน
การเชื่อมต่อแบบองค์กร
องค์กรที่มีเครือข่ายภายในอยู่แล้ว สามารถเชื่อมต่อกับ ISPโดยอาศัยอุปกรณ์เราเตอร์ (router) โดยสามารถเลือกการเชื่อมต่อสัญญาณได้หลายรูปแบบ เช่น สายวงจรเช่า (leased line)   , ระบบวงจรไอเอสดีเอ็น (ISDN) ,ระบบดาวเทียม ระบบไมโครเวฟ
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
Hi-speed Internet
ADSL (Asymmetic Digital Subsciber Line) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงโดยสามารถสื่อสารโดยใช้ สายโทรศัพท์ โดยใช้  ADSL Modem 
ข้อดีคือสามารถใช้งานโทรศัพท์พร้อมกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้
ความเร็ว  2048/512  Kbps หมายถึง
ความเร็วในการ Download 2048 Kbps
ความเร็วในการ Upload 512 Kbps
ตัวอย่าง Package ของ TT&T


IP Address
เป็นหมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย   ประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุดที่คั่นกันด้วยเครื่องหมายจุด (.) เช่น 172.16.254.1
ตัวเลขในแต่ละชุดจะมีขนาด 8 บิต แต่ละชุดจึงมีค่าตัวเลขได้ตั้งแต่ 0 ถึง255




Domain Name
Domain Name คือชื่อที่ใช้ในการอ้างอิงเพื่อไปยัง Website ต่างๆ ที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตชื่อที่ใช้ต้องเป็นชื่อที่ไม่มีใครในโลกใช้เพราะถ้ามีคนใช้ชื่อใดแล้วเราจะไปจดชื่อซ้ำไม่ได้
เนื่องจาก IP Address อยู่ในรูปของตัวเลขซึ่งยากแก่การจดจำดังนั้นจึงเป็นการสะดวกกว่าที่จะใช้ชื่อหรือกลุ่มของตัวอักษร ซึ่งก็คือ Domain Name ในการอ้างอิงแทน โดยจะอาศัย DNS Server มาช่วยจับคู่ IP Address และ Domain name เข้าด้วยกัน ดังนั้นเมื่อมีผู้ต้องการที่จะเรียกดู Website ของท่าน ไม่ว่าจะทราบ IP Address หรือ Domain name เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ผิดพลาด
รหัสที่ใช้แทนใน Domain Name
Top Level Domain Name  (ต่างประเทศ)
COM ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป รวมทั้งเว็บไซต์ส่วนตัว และมีบางครั้งนำไปใช้ทำเว็บไซต์ (web site) ประเภทอื่นๆ ด้วย
NET ใช้ทำเว็บไซต์เกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์ค (network) ของคอมพิวเตอร์ หรือเว็บไซต์บริการอินเทอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย
ORG ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ บางครั้งก็มีการจดทะเบียนนำไปใช้กับเว็บไซต์ประเภทอื่นด้วย
2. Local Domain Name (ภายในประเทศต่าง ๆ)

Browser
Browser คือ ซอฟท์แวร์ที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตใช้เพื่อเรียกดูข้อมูลบนWWW หรือ เป็นโปรแกรมสำหรับแสดงเว็บเพจนั่นเอง โดยหน้าเว็บเพจจะถูกเขียนด้วยภาษา HTML และถูกแปลความหมายด้วย Browser





องค์ประกอบของการพัฒนาเว็บไซต์
Hardware
 เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ทำหน้าที่ให้บริการ (Server) เครื่องเรียกใช้บริการ(Client) เราเตอร์  โมเด็ม 
Software
HTML editor
Server-side script  เช่น PHP , ASP
Client-side script  เช่น JavaScript , AJAX
Web server application เช่น  Apache , IIS , PWS
ซอฟท์แวร์มัลติมีเดีย
ระบบการจัดการฐานข้อมูล (Database Management System)
MySQL
MS Access
Oracle


 

ระบบฐานข้อมูล (DATABASE SYSTEMS)

ระบบฐานข้อมูล (DATABASE SYSTEMS)
       ระบบฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันและถูกนำมาจัดเก็บในที่เดียวกัน โดยข้อมูลอาจเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกันหรือแยกเก็บหลาย  แฟ้มข้อมูล แต่ต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเพื่อประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลในการจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูลมีข้อดีกว่าการจัดเก็บข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลพอสรุปประเด็นหลัก  ได้ดังนี้
· มีการใช้ข้อมูลร่วมกัน (data sharing)
· ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล (reduce data redundancy)
· ข้อมูลมีความถูกต้องมากขึ้น (improved data integrity)
· เพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูล (increased security)
· มีความเป็นอิสระของข้อมูล (data independency)
            ในการประกอบธุรกิจจะมีข้อมูลต่างๆเกิดขึ้นมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการสั่งของ ข้อมูลพนักงาน ฯลฯ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะต้องมีการเก็บรักษาที่ดี นอกจากนั้นในการตัดสินใจต่างๆจะมีข้อมูลที่ต้องใช้ประมวลผลเพื่อประกอบการตัดสินใจเป็นจำนวนมาก การนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้นั้น ถ้าไม่ได้มีการจัดระเบียบการเก็บที่ดี ก็ย่อมนำมาใช้ได้อย่างยากลำบาก
ทำไมต้องมีระบบฐานข้อมูล
            ระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพจะมีหน้าที่หลักๆดังต่อไปนี้
          การเก็บรักษาข้อมูล ระบบฐานข้อมูลจะช่วยให้การเก็บรักษาข้อมูลเป็นระบบระเบียบ มีการจัดหมวดหมู่ของข้อมูล ซึ่งจะให้ผู้จัดเก็บทำงานได้สะดวกมากขึ้น และป้องกันความผิดพลาดได้
          การนำข้อมูลไปใช้ ข้อนี้จะเป็นหัวใจของระบบฐานข้อมูลเลยทีเดียว ระบบฐานจะทำให้การดึงข้อมูลออกมาใช้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การสรุปข้อมูลและประมวลผลต่างๆจะทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถนำข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจได้ ยกตัวอย่างเช่น การเก็บข้อมูลใบสั่งของจากลูกค้า ถ้าเราเก็บโดยไม่มีระบบเช่นเก็บสำเนาใบเสร็จทั้งหมดไว้ เราก็จะมีเพียงหลักฐานว่าใครสั่งอะไรไปบ้างเท่านั้น แต่ถ้ามีการเก็บลงระบบฐานข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้คอมพิวเตอร์เข้าช่วย เราจะสามารถดึงข้อมูลสรุป ต่างๆออกมาใช้ได้ เช่น สามารถรวบรวมได้ว่า ลูกค้ารายนี้ สั่งอะไรบ้าง สินค้ารายการนี้ถูกสั่งไปเท่าไร เหลืออีกเท่าไร ฯลฯ
          การแก้ไขข้อมูล เป็นอีกความสามารถหนึ่งที่ระบบฐานข้อมูลจะช่วยให้ทำงานสะดวกขึ้น ยกตัวอย่างเช่น จากข้อที่แล้วตัวอย่างใบสั่งของ ถ้าลูกค้ามีการเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ เราก็สามารถแก้ทีเดียวได้ โดยไม่ต้องเข้าไปแก้ในใบสั่งของแต่ละใบ เป็นต้น
            ซึ่งจากหน้าที่ของระบบฐานข้อมูลจะทำให้เห็นว่า การเก็บข้อมูลอย่างมีระบบกับไม่มีนั้น มีความสามารถและประโยชน์ใช้สอยต่างกันมาก ซึ่งก็คงจะทำให้เห็นประโยชน์ของฐานข้อมูลเด่นชัดขึ้น
ระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
            อันที่จริงแล้วนั้น ระบบฐานข้อมูลไม่จำเป็นจะต้องอิงกับคอมพิวเตอร์เสมอไป ยกตัวอย่างเช่น ระบบบัตรทะเบียนหนังสือในห้องสมุด ระบบบัตรคนไข้ ฯลฯ แม้แต่การที่เราจดบันทึกหมายเลขโทรศัพท์ของเพื่อน ก็ถือได้ว่าเป็นระบบฐานข้อมูลอย่างหนึ่ง  ซึ่งระบบดังกล่าวนี้ ถ้ามีการใช้หลักของการจัดการฐานข้อมูลที่ถูกต้องแล้วละก็ จะสามารถมีความสะดวกในการใช้สอยได้ในระดับหนึ่ง
            แต่ทว่าในปัจจุบันเมื่อเราพูดถึงระบบฐานข้อมูล เราก็มักจะนึกถึงระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการฐานข้อมูลนั้น อาจพูดได้ว่า เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ที่ตรงกับข้อเด่นที่สุดของคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่ง ก็คือ ใช้กับงานที่มีการทำซ้ำเป็นจำนวนมาก มีการประมวลผลที่เป็นระบบ ซึ่งคอมพิวเตอร์จะไม่มีความผิดพลาดอันเกิดจากการเหนื่อยล้าหรือเบื่อหน่าย
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ
1. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database)
       เป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เป็นตาราง (Table) หรือเรียกว่า รีเลชั่น (Relation) มีลักษณะเป็น 2 มิติ คือเป็นแถว (row) และเป็นคอลัมน์ (column) การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตาราง จะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวต์ (attribute) หรือคอลัมน์ที่เหมือนกันทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นี้จะเป็นรูปแบบของฐานข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Database)
ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะเป็นการรวมระเบียนต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนแต่จะต่างกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะแฝงความสัมพันธ์เอาไว้ โดยระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันจะต้องมีค่าของข้อมูลในแอททริบิวต์ใดแอททริบิวต์หนึ่งเหมือนกัน แต่ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย จะแสดงความสัมพันธ์อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น
3. ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น (Hierarchical Database)
ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น เป็นโครงสร้างที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบพ่อ-ลูก (Parent-Child Relationship Type : PCR Type) หรือเป็นโครงสร้างรูปแบบต้นไม้ (Tree)ข้อมูลที่จัดเก็บในที่นี้ คือ ระเบียน (Record) ซึ่งประกอบด้วยค่าของเขตข้อมูล (Field) ของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ
         ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นนี้คล้ายคลึงกับฐานข้อมูลแบบเครือข่าย แต่ต่างกันที่ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น มีกฎเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งประการ คือ ในแต่ละกรอบจะมีลูกศรวิ่งเข้าหาได้ไม่เกินหัวลูกศร
นิยามและคำศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล
บิท (Bit) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด
ไบท์ (Byte) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่กิดจากการนำบิทมารวมกันเป็นตัวอักขระ (Character)
เขตข้อมูล (Field) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมารวมกันแล้วได้ความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ชื่อ ที่อยู่ เป็นต้น
ระเบียน (Record) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนเอาเขตข้อมูลหลาย ๆ เขตข้อมูลมารวมกัน เพื่อเกิดเป็นข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ข้อมูลของนักศึกษา 1 ระเบียน (1คน) จะประกอบด้วย
รหัสประจำตัวนักศึกษา 1 เขตข้อมูล
ชื่อนักศึกษา 1 เขตข้อมูล
ที่อยู่ 1 เขตข้อมูล
แฟ้มข้อมูล (File) หมายถึงหน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำข้อมูลหลาย ๆ ระเบียนที่เป็นเรื่องเดียวกันมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา แฟ้มข้อมูลลูกค้า แฟ้มข้อมูลพนักงาน

ส่วนในระบบฐานข้อมูล มีคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้
เอนทิตี้ (Entity) หมายถึง ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ได้แก่ คน สถานที่ สิ่งของ การกระทำ ซึ่งต้องการจัดก็บข้อมูล
ไว้ เช่น เอนทิตี้ลูกค้า เอนทิตี้พนักงาน
เอนทิตี้ชนิดอ่อนแอ (Weak Entity) เป็นเอนทิตี้ที่ไม่มีความหมาย หากขาดเอนทิตี้อื่นในฐานข้อมูล
แอททริบิวต์(Attribute) หมายถึง รายละเอียดข้อมูลที่แสดงลักษณะและคุณสมบัติของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ เช่น
เอนทิตี้นักศึกษา ประกอบด้วย - แอทริบิวต์รหัสนักศึกษา
แอททริบิวต์ชื่อนักศึกษา
แอททริบิวต์ที่อยู่นักศึกษา
ความสัมพันธ์ (Relationships) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้นักศึกษาและเอนทิตี้คณะวิชา เป็นลักษณะว่า นักศึกษาแต่ละคนเรียนอยู่คณะวิชาใดคณะวิชาหนึ่ง
ในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ เราจะใช้หัวลูกศรเพื่อแสดงความสัมพันธ์ ดังตัวอย่างในรูปต่อไปนี้
รูปที่ 1.1 คณะวิชา ß ----------à à นักศึกษา (คณะวิชามีความสัมพันธ์กับนักศึกษา)
ในการระบุความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ จะกำหนดโดยใช้หัวลูกศร และหากพิจารณาความสัมพันธ์จากเอนทิตี้นักศึกษาไปยังเอนทิตี้คณะวิชา อาจจะกำหนดความสัมพันธ์ได้ดังนี้
รูปที่ 1.2 คณะวิชา ----------------à นักศึกษา (นักศึกษาสังกัดอยู่คณะวิชา)
และหากพิจารณาความสัมพันธ์จากเอนทิตี้คณะวิชาไปยังเอนทิตี้นักศึกษา อาจกำหนดความสัมพันธ์ได้ดังนี้
รูปที่ 1.3 คณะวิชา --------------à à นักศึกษา (คณะวิชาประกอบด้วยนักศึกษา)
จากรูปที่ 1.2 จะเห็นได้ว่า นักศึกษา 1 คนจะสามารถสังกัดอยู่ได้เพียง 1 คณะวิชา แต่จากรูปที่ 1.3 จะเห็นได้ว่า 1 คณะวิชาสามารถประกอบด้วยนักศึกษาหลาย ๆ คน
ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง ( One - to - One Relationship )
เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลของเอนติตี้หนึ่งว่า มีความสัมพันธ์กับข้อมูลอย่างมากหนึ่งข้อมูลกับอีกเอนติตี้หนึ่งในลักษณะที่เป็นหนึ่งต่อหนึ่ง เช่น เอนติตี้นักศึกษา กับเอนติตี้โครงงานวิจัยมีความสัมพันธ์กันแบบหนึ่งต่อหนึ่ง คือ นักศึกษาแต่ละคนทำโครงงานวิจัยได้ 1 โครงงานเท่านั้น และแต่ละ
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม ( One - to - Many Relationship )
เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลของเอนติตี้หนึ่งว่ามีความสัมพันธ์กับข้อมูลหลายข้อมูลกับอีกเอนติตี้หนึ่ง เช่น ความสัมพันธ์ของลูกค้าและคำสั่งซื้อเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม คือ ลูกค้าแต่ละคนสามารถสั่งซื้อได้หลายคำสั่งซื้อ แต่แต่ละคำสั่งซื้อมาจากลูกค้าเพียงคนเดียว เป็นต้น
เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลของสองเอนติตี้ในลักษณะแบบกลุ่มต่อกลุ่ม เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างคำสั่งซื้อกับสินค้าเป็นแบบกลุ่มต่อกลุ่ม คือ แต่ละคำสั่งซื้ออาจสั่งซื้อสินค้าได้มากกว่า 1 ชนิด และในสินค้าแต่ละชนิดอาจปรากฏอยู่ในคำสั่งซื้อได้มากกว่า 1คำสั่งซื้อ
เอนทิตี้ใบสั่งซื้อแต่ละใบจะสามารถสั่งสินค้าได้มากกว่าหนึ่งชนิด ความสัมพันธ์ของข้อมูลจากเอนทิตี้ใบสั่งซื้อไปยังเอนทิตี้สินค้า จึงเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1:m) ในขณะที่สินค้าแต่ละชนิด จะถูกสั่งอยู่ในใบสั่งซื้อหลายใบ ความสัมพันธ์ของข้อมูลจากเอนทิตี้สินค้าไปยังอินทิตี้ใบสั่งซื้อ จึงเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1:n) ดังนั้นความสัมพันธ์ของเอนทิตี้ทั้งสอง จึงเป็นแบบกลุ่มต่อกลุ่ม (m:n)
จากคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงอาจให้นิยามของฐานข้อมูลในอีกลักษณะได้ว่า “ฐานข้อมูล” อาจหมายถึง โครงสร้างสารสนเทศ ที่ประกอบด้วยหลาย ๆ เอนทิตี้ที่มีความสัมพันธ์กัน

หน่วยรับข้อมูล Input ( คีย์บอร์ด )


คีย์บอร์ด
เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะรับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น
การวางตำแหน่งแป้นอักขระ จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต กล่าวคือ เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ 
เมื่อนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานพิมพ์ภาษาไทยจึงต้องมีการดัดแปลงแผงแป้นอักขระให้สามารถใช้งานได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย กลุ่มแป้นที่ใช้พิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยจะเป็นกลุ่มแป้นเดียวกับภาษาอังกฤษ แต่จะใช้แป้นพิเศษแป้นหนึ่งทำหน้าที่สลับเปลี่ยนการพิมพ์ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษภายใต้การควบคุมของซอฟต์แวร์อีกชั้นหนึ่ง 
แผงแป้นอักขระสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็มที่ผลิตออามารุ่นแรก ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 จะเป็นแป้นรวมทั้งหมด 83 แป้น ซึ่งเรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอ็กซ์ที ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 บริษัทไอบีเอ็มได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระ กำหนดสัญญาณทางไฟฟ้าของแป้นขึ้นใหม่ จัดตำแหน่งและขนาดแป้นให้เหมาะสมดียิ่งขึ้น โดยมีจำนวนแป้นรวม 84 แป้น เรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอที และในเวลาต่อมาก็ได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระขึ้นพร้อม ๆ กับการออกเครื่องรุ่น PS/2 โดยใช้สัญญาณทางไฟฟ้า เช่นเดียวกับแผงแป้นอักขระรุ่นเอทีเดิม และเพิ่มจำนวนแป้นอีก 17 แป้น รวมเป็น 101 แป้น 
การเลือกซื้อแผงแป้นอักขระควรพิจารณารุ่นใหม่ที่เป็นมาตรฐานและสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ 
สำหรับเครื่องขนาดกระเป๋าหิ้วไม่ว่าจะเป็นแล็ปท็อปหรือโน้ตบุ๊ค ขนาดของแผงแป้นอักขระยังไม่มีการกำหนดมาตรฐาน เพราะผู้ผลิตต้องการพัฒนาให้เครื่องมีขนาดเล็กลงโดยลดจำนวนแป้นลง แล้วใช้แป้นหลายแป้นพร้อมกันเพื่อทำงาน